ฉีเหมินตุ้นเจี่ย สุดยอดวิชาในตำนาน ที่ขงเบ้งใช้

ฉีเหมินตุ้นเจี่ย(奇門遁甲 )

วิชาวางกลยุทธ์เพื่อวางแผน เจรจาต่อรองทางธุรกิจ หรือเหตุการณ์ต่างๆ 

ในวิชา ฉีเหมินตุ้นเจี่ย นั้นบุคคลทั่วไปจะได้ยินวิชานี้จากการที่ ขงเบ้ง (จูเก่อเลี่ยง, จูกัดเหลียง) ใช้วิชา ฉีเหมินตุ้นเจี่ย ในเหตุการณ์ หลายครั้ง เช่น

  • ศึกผาแดงเรียกลมเรียกฝน ที่แท่นบูชา 7 ดาว (七星壇)
  • ศึกผาแดงใช้เพื่อหลบหนีโดยไม่ให้มีคนเห็น
  • ค่ายกล 8 ทิศ ( ค่ายกลพยุหะอัฏฐทิศ)
  • จุดตะเกียง 7 ดาวต่ออายุ
  • ปล่อยโคม 7 ดาว (โคมขงเบ้ง — 孔明燈)

ฉีเหมินตุ้นเจี่ย คือ อะไร?

เป็นการอาศัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการกำหนดตำแหน่ง และทิศทางดีร้ายในเวลานั้นๆ ซึ่งใน 1 รอบปี( 年 ) จะแบ่งออกเป็น 12 เดือน( 月 ) และ 24 สาร์ท( 節氣 ) ครอบคลุมระยะเวลา 360 วัน( 日 )
และทุกๆ 5 วันจะมีการเปลี่ยน หยวน( 元 ) หรือ จู่( 局 ) พร้อมทั้งแบ่งภาพหลักของการหมุนเวียนของพลังในรอบปีออกเป็น 2 รูปแบบคือ หยางตุ้น( 陽遁 ) และหยินตุ้น( 陰遁 )
โดยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศและสภาพธรรมชาติดังกล่าวจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้าย-หมุนเวียน ของ 10 ราศีบน( 天干 ) 12 ราศีล่าง( 地支 ) 9 ดาว( 星 ) 9ประตู(門  ) 9 เทพ( 神 ) ในผัง 9 วัง( 宮 ) ซึ่งจาก 10 ราศีบน 12 ราศีล่าง 9 ดาว 9 ประตูและ 9 เทพที่อยู่ในแต่ละวังนั้นจะนำมาประเมินความดี-ร้ายที่เกิดขึ้นในวังและเชื่อมโยงยังทิศทางที่สอดคล้องกับวังนั้นๆ

โครงสร้างของฉีเหมินตุ้นเจี่ย : ประกอบด้วย ฉีเหมิน และตุ้นเจี่ย

1.ฉีเหมิน

1. ฉีเหมิน : ฉี( 奇 ) หรือ ซานฉี( 三奇 ) คือ อี่( 乙 ), ปิ่ง( 丙 ) และ ติง( 丁 ) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับระบบ กองทัพแล้วทั้ง 3 ตัวนี้จะเป็นเสมือนองค์รักษ์ข้างกายของแม่ทัพใหญ่ “เจี่ย( 甲 )” เพื่อช่วยเหลือในการปกครองกองทหาร

– อี๋( 乙 ) เป็นกองบัญชาการทหารที่ให้คำปรึกษา,ข้าราชการพลเรือน

– ปิ้ง( 丙 ) เป็นกองการบริหารการจัดการ ,ข้าราชการทหาร

– ติง( 丁 ) เป็นกองธุรการหรือแนวหลังให้การจัดหา เตรียมการ และสนับสนุน

และหากเปรียบความสัมพันธ์ในลักษณะของ 5 ธาตุ
เมื่อไม้เจี่ย( 甲 ) เปรียบเป็นพี่ชาย ที่ต้องระวังศัตรูทองเกิง( 庚 )เข้ามาทำร้ายดังนั้น
อี่( 乙 ) จึงเปรียบเป็นน้องสาวของไม้เจี่ยที่ช่วยชักนำทองเกิงไม่ให้ทำร้ายไม้เจี่ย
ปิ่ง( 丙 ) จึงเปรียบเป็นลูกชายของไม้เจี่ยที่เข้ามาขวางทองเกิงไม่ให้ทำร้ายไม้เจี่ย
ติง( 丁 ) จึงเปรียบเป็นลูกสาวของไม้เจี่ยที่เข้ามาขวางทองเกิงไม่ให้ทำร้ายไม้เจี่ย

เหมิน ( 門 ) ประกอบด้วย 8ประตูอันได้แก่
ซิ่ว( 休 )
สือ( 死 )
ซั่ง( 傷 )
ตู่( 杜 )
ไค( 開 )
จิง( 驚 )
เซิง( 生 )
และจิ้ง( 景 )
ซึ่งทั้ง8ประตูนี้จะมีลักษณะการใช้งานที่ แตกต่างกันตามตำแหน่งใน 9 วังและองค์ประกอบอื่นที่อยู่ในวังนั้

2.ตุ้นเจี่ย

2. ตุ้นเจี่ย : ไม้เจี่ย( 甲  ) เป็นอันดับแรกของ 10 ราศีบน( 天干 )เป็นผู้นำและมีความน่านับถือ แต่ด้วยความสัมพันธ์ของ 5 ธาตุนั้น ไม้เจี่ย( 甲 )จะกลัวทองเกิง( 庚 )มาทำร้าย ดังนั้นไม้เจี่ยจึงต้องหลบหรือมีคนคอยปกป้องซึ่งก็คือ 6 ราศีบนที่เหลือหรือเรียกว่าลิ่วอี๋( 六儀 ) อันได้แก่
อู้( 戊 )
จี่( 己 )
เกิง( 庚 )
ซิน( 辛 )
เหริน( 壬 )
และกุ่ย(癸 )
ในโหราศาสตร์จีนนั้นการนับเวลา วัน เดือนและปี จะใช้ 60 เจี่ยจื่อ( 甲子 )ในการกำหนดซึ่งจะแบ่งออกเป็น 6 ชุดชุดละ 10 คู่ โดยในแต่ละชุดจะมี ไม้เจี่ยเป็นผู้นำหรือเรียกรวมว่า ลิ่วเจี่ย( 六甲 ) ซึ่งลิ่วเจี่ยทั้ง 6 คู่นี้เรียกว่าซุ่นโจ่ว( 旬首 )ก็จะซ่อนหรือถูกปกป้องโดย 6 ราศีบน (เรียกว่าฟูโจ่ว( 符首 ) หรือลิ่วอี๋( 六儀 )) ดังนี้ เจี่ยจื่ออู้( 甲子(戊) ) เจี่ยซวีจี่( 甲戌(己) ) เจี่ยเชินเกิง( 甲申(庚) ) เจี่ยอู่ซิน( 甲午(辛) ) เจี่ยเฉินเหริน( 甲辰(壬) ) และเจี่ยอิ๋นกุ่ย( 甲寅(癸) )

จาก ฉีเหมินและตุ้นเจี่ยเมือนำมาใช้ร่วมกับผัง 9 วัง(หลังฟ้า)จะเกิดเป็นจานฉีเหมิน( 奇門盤 ) ที่ประกอบด้วย 4 จาน

จานดิน (地盤) จานดินเป็นจานเริ่มต้นในการคำนวนประกอบด้วยการเรียงกว้า( 卦 )ตามผังหลังฟ้า( 後天 ) และการวางตำแหน่งของซานฉีกับลิ่วอี๋ตามสาร์ท( 節氣 )และจู่( 局 ) กำหนดตำแหน่งเริ่มต้นของจานฟ้าและจานคน ตลอดจนกำหนดตำแหน่งของเวลาที่สัมพันธ์กันกับเวลานั้น

จานฟ้า ( 天盤 ) เป็นจานที่แสดงการเคลื่อนที่ของดาว 9 ดวงที่นำมาใช้ในการคำนวนซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของฟ้าหรือเป็นสิ่งที่ฟ้าเป็นผู้กระทำเป็นหลัก และแสดงการเคลื่อนย้ายของ ซานฉีและลิ่วอี๋ ซึ่งเมื่อนำ ซานฉีและลิ่วอี๋ของจานฟ้าและจานดินมาพิจารณาร่วมกันจะเกิดลักษณะเฉพาะ(เกอะ (格))ที่แสดงเหตุของการเปลี่ยนแปลงเป็นหลัก

จานคน ( 人盤  ) เป็นจานที่แสดงถึงการหมุนเวียนของประตูทั้ง 8 ประตูที่แสดงถึงเหตการณ์หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการกระทำของบุคคลเป็นหลัก

จานเทพ ( 神盤  ) เป็นจานที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของ 8 เทพที่แสดงถึงเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นหลัก

ทั้งนี้ในตำนานหรือเรื่องเล่าต่างๆในอดีตนั้นการใช้งานของฉีเหมินตุ้นเจี่ยนั้นจำถูกใช้ในการวางแผน กำหนดทิศทางและเวลาในการปฏิบัติการทางการทหารเป็นหลัก เช่น การกำหนดทิศทางและเวลาในการเดินทัพเข้าตีข้าศึก การกำหนดทิศทางในการถอยทัพ การตรวจสอบและเฝ้าระวังการปล้นค่าย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนั้นได้มีการศึกษาและประยุกต์การใช้งานฉีเหมินตุ้นเจี่ยในการทำนายทายทัก หรือกำหนดแนวทางในการติดต่อ-เจรจาทางธุระกิจ
ตัวย่างการใช้ “ฉีเหมินตุ้นเจี่ย”
นั่งทานข้าวอยู่แล้วเพื่อนก็โทรมา บอกว่ามีหน่วยงานเข้ามาหาที่บ้าน พอจับยามด้วหลักของ “ฉีเหมินตุ้ยเจี่ย”แบบ”飛盤” นั้นในวัง良 ประกอบด้วยเทพ值符 ประตู休門 ดาว天禽 และเกอ戊辛 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าตัวนั้นมีคนคอยปกป้อง และสบายใจไม่ได้หนักใจ ในขณะที่วัง坤 ประกอบด้วย เทพ六合 ประตู杜門 ดาว天任 และเกอ辛丁 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มาหานั้นไม่ค่อยมีประเด็น ไม่ได้มาเพราะความมุ่งมั่น นอกจากนั้นยังมีคนกลางค่อยไกล่เกลี่ย และมีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อเจ้าบ้าน
ดังนั้นจึงแนะนำไปว่าให้อยู่นิ่งๆ ไม่ต้องไปโต้เถียงและให้ผู้ใหญ่เป็นคนกลางในการพูดคุยแทนถึงจะดี หลังจากนั้น1ชั่วโมงเพื่อนโทรมาบอกว่าเรียบร้อยแล้วได้ผู้ใหญ่เครียร์ให้เรียบร้อยแล้

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.